Thursday, October 14, 2004

 

Have to present paper this Sat!!

I'm panicking!

And for a good reason. I have to read, translate and present a philosophy paper this Saturday morning and I barely started!

I don't know why I tend to run against the deadline all the time? But then, again, I work exceptionally well under pressure. The last-minute kind of feeling is good for me. But, kids, don't try this at home! :-P

Had a 45-min workout today. I like it when I'm sweating and my heart pumping fast. Must be one of those happiness hormone! :) I need that!

Should at least finish reading the chapter tonight and write the paper tomorrow.

Sigh...I really hope I understand the text!

Why do I have to study philosophy anyway? The world needs something practical and not just philosophical. What the world needs is not a mental excercise, but something practical for EVERYONE! I mean, can a doctoral degree in social sciences be the one without the Ph. in the D.?

Am I being sarcastically philosophical? (sly grin)

Wednesday, October 13, 2004

 

อ่านจบแล้ว! เย้.... เตรียมตัวอ่านแล้วแปลอีกเล่ม

เย้...ในที่สุดก็อ่านจบเสียที หนังสือปรัชญาเล่มแรกของฉัน ความจริงอ่านจบตั้งแต่เมื่อวานแล้วแต่ลืมเขียน แหะ ๆ

ดีใจได้แว้บเดียวก็เหี่ยวแห้งต่อ เพราะเหลืออีกไม่กี่วันก็ต้องอ่าน Reading ที่อ.ให้มาให้จบแล้วแปลพร้อมออกไป present วันเสาร์นี้

ที่เหี่ยวก็เพราะว่า ไม่ใช่ว่าจะอ่านแค่ส่วนที่เราต้องแปลแล้วจะรู้เรื่อง มันต้องอ่านบทนำของเล่มพร้อมบทแรก ๆ ก่อน ที่สำคัญ วิชานี้มีหนังสือ Required Textbook เยอะเสียด้วย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สงสัยเราต้องทำตารางสอนเหมือนตอนเด็ก ๆ เสียแล้วว่า วันนี้ต้องอ่านอะไร ทำอะไร กี่ชม. กี่นาที

ต้องรีบทำการบ้านสถิติและเตรียมสอบด้วย พี่ในกลุ่มทำเปเปอร์สถิติโทร.มาเร่งให้ช่วยแปลวารสารของเมืองนอกที่วิจัยด้วย Discriminant Analysis อีกต่างหาก จะทันไหมนี่วีคเอนด์นี้ หัวข้อบทวิจัยจากในวารสารก็น่าตื่นเต้นตายล่ะ บทบาทของผู้บริหารในการควบคุมการประนีประนอมกันในสภาพแวดล้อมการทำงานที่....ที่อะไรก็ลืมไปแล้ว นั่น...มันน่าเบื่อขนาดนั้นเลยเชียว ไม่อยากเชื่อเลยว่าเปเปอร์ฉบับนี้เป็นเปเปอร์ของสาขาวิชาจิตวิทยาที่เป็นสาขาที่เราว่าน่าจะสนุกมาก แต่ทำไมนักวิชาการในโลกนี้ช่างมีพรสวรรค์ทำให้เรื่องสนุก ๆ กลายเป็นเรื่องที่น่าหาวตั้งแต่ได้ยินชื่อนะ

วันหนึ่งหากฉันต้องทำหน้าที่ประมาณว่านักวิชาการ ฉันจะไม่ทำให้ใครหาว ฉันจะพยายามให้ดีที่สุดที่จะนำเสนอแบบน่าสนใจ ให้คนรู้สึกเหมือนกำลังอ่านนิตยสารเล่มโปรดของเขา และฉันจะไม่ตั้งชื่องานวิจัยของฉันประมาณข้างบนเด็ดขาด ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาคิดหัวข้อวิจัยให้มันฟังดูน่าสนุก น่าสนใจ ด้วยเถิด...

Monday, October 11, 2004

 

When he's 64

(Click the title link above to read BBC news covering this story.)

"When I'm 64" is a title of a love ballad that John Lennon & Paul McCartney wrote, one of the many that won the heart and soul of people around the world.

John Lennon would have turned 64 this past Saturday (Oct 9) if he were still alive.

To mark what would have been his birthday, Yoko Ono, his widow, has organized an exhibition of his artwork in New York, where the couple lived until he was murdered.

I feel moved and there was a lump in my throat thinking how special this birthday would have been for John, if he were still here with us.

John Lennon has been my hero since I was very young and my high school friends knew it: I used to talk about him in a major English-language public-speaking exam in front of class. I deliberately choose to post this in my Philosophy Blog because I learned a lot about philosophy of life from his music.

If you listen through their work, The Beatles doesn't talk only about love, but about almost every aspect of life as well. Take "Elenor Rigby," for instance. It doesn't only touch the issue about sad lonely life of the elderly population, but it askes you thought-provoking questions on the meaning of life that still applies today. "...All the lonely people,where do they all come from? ...All the lonely people, where do they all belong?..."

I can even argue that The Beatles touches on the very essence of Buddhism in this song that they wrote and sang even before their interest in Eastern Philosophy and went to India. Elenor Rigby talks about a funeral of one of these lonely people where nobody came. They talk about the grave and the fact that "...no one was saved." How very true it is.

We can't escape our ultimate departure. This reminder coupled with the need to know where we come from and where will we go to is exactly the same thoughts that made Prince Sidhartha decide to go search for the ultimate truth, leading him to the eventual Enligtenment. It seems to me that philosophy would only become useful if one put it into action like Prince Sidhartha did.

And that was just one of the philosophy I learned from John and his songs!

Happy Birthday, John.. We miss you!


Sunday, October 10, 2004

 


This one could be pregnant... She's cute! Hmm... May be I should find a name for her... Posted by Hello

 

Sometimes they come near me to keep me company... Posted by Hello
 


 

Man & His Search for Truth and Meaning of Life

มนุษย์ กับ การแสวงหา (ความจริงและความหมายของชีวิต)
โดย อ.สมภาร พรมทา อ.ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาตร์ จุฬาฯ

I will attempt to finish my book review by tonight! Don't want to sleep so late like last night, though. Wanna get into the right groove so that I can wake up early for my Sunday's Statistic classs! Sigh...who would think that one day I have to go to a stat class on a Sunday morning!?! :)

สงสัยทำ book review เป็นภาษาไทยท่าทางจะเร็วกว่านะวันนี้ ขอผัดผ่อนฝันอันสวยหรูว่าจะทั้งย่อและแปลหนังสือปรัชญาเล่มแรกของชีวิต(ที่ซื้อเอง ไม่ได้เป็น textbook) ไว้ก่อนดีกว่า เดี๋ยวพอดีไม่ต้องไปทำการ ทำงานอย่างอื่นกัน แล้วไหนจะต้องมะงุมมะงาหราหาคำสั่งต่าง ๆ ของเจ้า Blog นี้อีก :)

บทนำ

อ.สมภารเปิดเรื่องว่า เราสมควรจะเริ่มศึกษาปรัชญาอย่างไร แรกเลยอ.บอกว่า วิชาปรัชญาเป็นวิชาที่ไม่มีคำตอบที่แน่นอนตายตัว ไม่เหมือนวิชาพวกคณิตศาสตร์ เฮ้อ...แค่ถึงขั้นนี้ฉันก็ชักจะเริ่มปวดหัวแล้ว ฉันนึกถึงการเถียงกันไปไม่รู้จบ อาจารย์ให้เหตุผลดังต่อไปนี้ว่า ทำไม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่วิชาปรัชญาจะไม่มีคำตอบที่แน่นอนตายตัว (แล้วเหตุผลนี้ตายตัวด้วยหรือเปล่าอาจารย์?)
  1. เนื้อหาปรัชญาว่าด้วยสิ่งที่ไม่อาจหาข้อยุติได้ อ.อธิบายต่อไปว่า ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ มักจะมีอยู่ ๒ วิธี อย่างแรกคืออธิบายในแง่ "อย่างไร" และอย่างที่สองในแง่ของ "ทำไม" อ.บอกว่า ทางปรัชญาจะสนใจอย่างหลังมากกว่า ฉันคิดเองต่อเล่น ๆ ว่า สงสัยเป็นเพราะอย่างแรกคิดไปคิดมาแล้วมันอาจหาข้อยุติได้นั่นเอง (ว่าต้องทำ "อย่างไร" ฯลฯ) อ.บอกว่า การตอบในแง่ "อย่างไร" นั้น เป็นการตอบที่ต้องใช้อายตนะ (ประสาทสัมผัส) ต่าง ๆ มาตอบ ส่วนการตอบคำถาม "ทำไม" นั้น เป็นการใช้ความสามารถในการให้เหตุผลมาตอบ
  2. ปัญหาในการศึกษาปรัชญาเป็นปัญหาที่พื้นฐานที่สุด อ่านถึงตรงนี้ฉันออกจะงง ๆ แต่พออ่านต่อปรากฏว่ายิ่งงงหนัก (แล้วฉันจะเรียนจบไหมฟะเนี่ย) นั่นก็คือ อ.บอกว่า คนสองคนอาจจะถกกันว่า ในห้องนี้มีแมวอยู่หรือไม่ ความจริงการถกเถียงนั้นน่าจะจบลงได้ที่เมื่อเปิดประตูเข้าไปดูแล้วเห็นว่ามีแมวหรือเปล่า แต่ไม่อะ, นักปรัชญาจะไม่จบง่าย ๆ เช่นนั้น ต่อให้เปิดไปแล้วเห็นแมวอยู่ ฝ่ายหนึ่งก็อาจจะยังเถียงต่อไปอีกว่า แล้วรู้ได้ยังไงว่านั่นมันเป็นแมว มันอาจไม่ใช่แมวก็ได้ เราจะเชื่อประสาทสัมผัสเราได้อย่างไร ว่าความจริงแล้วมันคือแมว ไม่ใช่หมา เฮ้อ..ฉันถอนหายใจดัง ๆ อีกรอบ แล้วเริ่มอยากเอาหัวโขกโต๊ะ
  3. วิชาปรัชญาเป็นวิชาที่ไม่มีความสมบูรณ์ของแนวคิด มาถึงตรงนี้ฉันชักจะมั่นใจแล้วว่า การเรียนปรัชญาของฉันหนนี้คงไม่ได้ต่างไปกับตอนที่เคยเรียนตอนเด็ก ๆ เลย เพราะฉันคงจะไม่รุ่งเอาจริง ๆ ด้วย ในส่วนนี้ อ.สมภารบอกว่า วิชาปรัชญาเป็นวิชาที่มีความต่อเนื่อง เมื่อมีการเสนอแนวคิดนึงออกมา ก็จะมีคนมาเสนอต่อ มาคัดค้าน แล้วก็ทำต่อกันเรื่อยไปเป็นลูกโซ่

ถึงตรงนี้ฉันขอยกมือถามอาจารย์อยู่ในใจดีกว่าว่า คนเราสนใจที่จะศึกษาสิ่งที่ไม่มีวันจบ หรือ เป็นลูกโซ่อย่างนี้ไปตลอดเลยหรือ? เขาไม่เบื่อกันหรือ? ฉันนึกถึงเรื่องที่อ.ศิริพรแห่งศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ชอบเล่าให้โยคี (คำเรียกผู้ปฏิบัติธรรม) ฟังในวันหลัง ๆ ของการปฏิบัติจัง ที่ว่า ในค่ำคืนวันที่พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้นั้น ในตอนยามต้น ทรงได้บุพเพนิวานุสาสติญาณ ทรงรำลึกชาติของพระองค์เองได้ แล้วก็ทรงกำหนด เล็งพระญาณดูเรื่อยไป ก็เห็นเรื่องราวต่าง ๆ เหมือนหนังย้อนกลับ กรอกันไปอยู่นั่นแหละ ตั้ง ๕๐๐ ชาติแล้วก็ยังไม่รู้จบ เป็น Never-Ending Story ท่านยังทรงเกิดความเบื่อ และ เหนื่อยหน่ายเป็นล้นพ้น ทรงเบื่อในการเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่นั่นแล้ว เกิดมาแล้วก็มีแต่เรื่องซ้ำ ๆ กันไปไม่จบสิ้น มีรัก โลภ โกรธ หลง สูญเสีย ตายเอง แล้วก็เกิดใหม่อยู่อย่างนี้ ท่านยิ่งทรงอยากหลุดพ้นจากวงจรวงนี้ไปเลย

อือ...แต่ก็นั่นแหละ ในโลกนี้จะหามหาบุรุษอย่างพระพุทธเจ้าก็ยากนัก คำถามที่ฉันคิดสงสัยเมื่อกี๊นี้ก็มีคำตอบออกมาเองแล้วว่า ก็ลำพังสมองมนุษย์ก็คงคิดได้แค่อย่างนี้แหละ ถึงยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกองทุกข์อย่างนี้เรื่อยไป ถ้าคนเราเห็นอะไรที่มันซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า แล้วเบื่อหน่ายแล้วมีความเพียรพยายามที่จะหาทางหลุดออกไปจากเรื่องซ้ำ ๆ นี้นั้น ผู้ได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ นักปรัชญา ทั้งหลาย ก็คงพากันบำเพ็ญเพียร มุ่งหน้าบรรลุธรรมกันหมดแล้ว ไม่เหลือมานั่งวิเคราะห์ว่านี่เป็นแมว หรือ ไม่ใช่แมว อยู่ทุกวันนี้หรอกเนอะ

เอ้า...นอกเรื่องไปนาน ต่อจ้า ต่อ ว่า ดึกแล้ว สงสัยแปะไว้แค่นี้ก่อนล่ะมั้งวันนี้ ไว้พรุ่งนี้ถ้ามีเวลาจะมาต่อ บทที่ ๑ มนุษย์คืออะไร แต่สงสัยเอาเวลาไปทำการบ้านสถิติดีกว่า เอ...แผนการเรียนผ่าน Blog ของฉันจะไปรอดไหมเนี่ย? เอาเป็นว่า ถ้ามันทำให้เสียเวลามากฉันก็ไปสรุปใน Microsoft Word ของฉันเฉย ๆ ดีกว่า เป็นส่วนหนึ่งของการรวมเล่มเปเปอร์นี่แหละ แล้วค่อยมาสรุปสั้น ๆ เป็นข้อ ๆ ไม่กี่ข้อใน blog นี้ก็แล้วกัน



Saturday, October 09, 2004

 


Tranquility. นั่งอ่านหนังสือนาน ๆ แล้วมันอยากหนีไปนั่งแถวนี้ง่ะ เดี๋ยวลงไปอ่านในสวนข้างบ่อปลาดีกว่าถ้าฝนตกวันนี้ :) บางทีเรียนหนัก ๆ ใกล้จะบ้าแล้วหันไปคุยกับปลามันก็หายเครียดดีเนอะ เอ...หรือว่าเราบ้าไปแล้วนั่นเอง นั่งคุยกับปลา? Posted by Hello


 

Early on this learning journey... Posted by Hello
 

My First Philosophy Book


Posted by Hello


Friday, October 08, 2004

 


Nash in Oxford. Was there on a scholarship under H.M. Queen Elizabeth II's patronage in summer 2001. Highly recommended for history buff is the Oxford Ghosts Tour every evening at 8 p.m. where they take you on a trail of horror marking real events that happened in the town of Oxford. :) Posted by Hello


 

เมื่อข้าพเจ้าจะต้องลงวิชาปรัชญาอีกครั้งตอนแก่

เมื่อข้าพเจ้าลงวิชาปรัชญาสมัยปริญญาตรีนั้น ข้าพเจ้าจำได้ดีว่า เป็นวิชาที่ไม่รุ่งเอาเสียเลย จำไม่ได้เสียแล้วว่าลงเทอมไหน ปีไหน ทราบแต่ว่าเป็นวิชาเลือกเสรี และเป็นวิชาประจำคณะรัฐศาสตร์ ชื่อวิชาเต็ม ๆ ว่า Intro to Philosophy & Logic

เด็กนิเทศศาสตร์อย่างข้าพเจ้า เทอมนั้นไม่ทราบว่าทำกิจกรรมอะไรบ้าง แต่คงจะโดดเยอะพอควร ตอนไปเรียนก็จำได้ว่าเรียนไม่รู้เรื่อง ดูเหมือนไม่มีตำราเรียนด้วย วิชานี้ เป็นเลคเชอร์อย่างเดียว หวังเพิ่งซีร็อกซ์ของเพื่อนเต็มที่ ปรากฏว่าเป็นไงล่ะ ได้ D มานอนดูเล่นฟรี ๆ เลยตัวนึง ไม่น่าเลยเรา ดูเหมือนจะเป็นตัวเดียวที่ได้คะแนนแย่ด้วยเทอมนั้น เลยดึง GPA เทอมนั้นลงไปเลย

บทเรียนที่ได้: อย่าโดดเรียนวิชาที่เราไม่ค่อยจะรู้จัก วิชาที่ไม่ใช่วิชาคณะ และจงอย่าไว้ใจวิชาที่ไม่มีตำราเรียน!! ฮิ ๆ :)

เอาล่ะ เวลาผ่านไปเกือบ ๒๐ ปี ดันลุกขึ้นซ่า หาอะไรเรียนต่อตอนแก่ สมองก็ทรุดโทรมลงแล้ว เรียนอะไรได้ช้า จำอะไรก็ไม่ค่อยจะได้ ความคิดสร้างสรรค์ไม่ต้องพูดถึง ช้าเสียไม่มี แล้วดันต้องโดนบังคับเรียนปรัชญาอีก เฮ้อ...หาเรื่องอายตัวเองตอนแก่อีกแล้วไหมเรา

ไม่เป็นไร เดี๋ยวย่องไปหาอะไรมาอ่านปูพื้นก่อน (เพราะพื้นตอนปริญญาตรีก็ไม่เหลืออะไรแล้ว) หนนี้ตั้งใจจะขยันกว่าสมัยเด็ก ๆ อะนะ....ขอเป็นไฟท์แก้มือหน่อยก็แล้วกัน

จึงเป็นที่มาของการไปซื้อหนังสือมาเล่มนึง และเราก็จะทำความรู้จักกับอะไร ๆ ที่เกี่ยวกับปรัชญานี้ไปวันละนิด วันละหน่อย นี่แหละ

แปลกดีเหมือนกันที่เริ่มอ่านปรัชญาวันแรกเป็นวันเดียวกับที่ลองเข้ามาดูที่เวบ Blogger นี้ แล้วก็มีแรงดลใจสมัครมาเปิด Blog กับเขา เอาไว้อัพเดทความก้าวหน้าในการเรียนของเราทุก ๆ วันนี่แหละ

วันนี้เรื่องปรัชญา พรุ่งนี้อาจะเป็นเรื่องภาษาญี่ปุ่น ทำอย่างนี้เรื่อยไป ซักวันมันอาจจะมีประโยชน์กับคนอื่นด้วยก็ได้ นอกจากกับตัวเราเอง

ชีวิต คือ การเรียนรู้ ชอบคำพูดนี้จัง :)



This page is powered by Blogger. Isn't yours?